การค้าผ่านแดน หรือ การปฏิบัติพิธีการผ่านแดน ซึ่ง หมายถึงการที่ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันยินยอมให้มี การขนส่งสินค้าผ่านอาณาเขตของตนเพื่อส่งออกต่อไป ประเทศที่สาม โดยไม่มีการเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้า ที่นำผ่านแดนเข้าในอาณาเขตของตนแต่อย่างใดเพราะว่า โดยปกติแล้ว ประเทศทั้งสองจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับการ ดำเนินการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและ กัน ตามความ สัมพันธ์ของแต่ละประเทศ ซึ่งการได้รับสิทธิผ่านดินแดน ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขข้อกำหนด ของประเทศ ที่ยินยอมให้มีการนำสินค้าผ่านแดนเพื่อ ส่งออกต่อไป ภายใต้กรอบขอบ เขตอธิปไตยของประเทศนั้นๆ
การยื่นใบขนสินค้าผ่านแดน และใบสั่งปล่อยสินค้าให้กับเจ้าหน้าที่จะต้องเรียกทำการตรวจสอบจากผู้ส่งสินค้าอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากเอกสารทั้ง 2 อย่างนี้แล้วยังมีเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้อีกด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ
- เอกสารที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ ที่เป็นคนที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบใบขนสินค้าผ่านแดน
- เอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรผ่านแดน
- ใบตราส่ง หรือที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นเอกสารในการขนส่งระหว่างประเทศ
- บัญชีราคาสินค้า ที่ใช้แสดงราคาของสินค้าแต่ละรายการที่ใช้ในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
- เอกสารอื่นที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดของต้นทางและปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นท่าเรือ หรือสนามบิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบ
- เอกสารแสดงเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านแดน ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุว่าต้นทางอยู่ที่ไหน แล้วจะส่งสินค้าไปที่ใด โดยถ้าหากมีการพักสินค้าก็จะต้องแสดงรายละเอียดไว้บนเอกสารพร้อมทั้งบอกหมายเลขเส้นทาง เวลา และช่วงในการขนส่งโดยประมาณในเอกสารด้วยเช่นกัน อีกด้วย
- ถ้าหากมีเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นในการตรวจสอบก็ควรนำไปประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนด้วย
หลักกฏหมายศุลกากรที่ควรทราบในการนำเข้าส่งออก ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469
การส่งออก
มาตรา 45บัญญัติว่า “ก่อนการส่งของใดๆออกนอก ราชอาณาจักร ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พระราชบัญญัตินี้ และตามกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กับกรมศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และ เสียภาษีอากรจนครบถ้วน หรือวางเงินไว้เป็นประกัน การ ขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่มีการร้องขอและอธิบดีเห็นว่าของใดมีความจำเป็นที่ จะต้องส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยรีบด่วน อธิบดีมี อำนาจให้ส่งของนั้นออกไปได้โดยยังไม่ต้องปฏิบัติ ตาม วรรคหนึ่งก่อน แต่ต้อองปฏิบัติตามอธิบดีกำหนด และใน กรณีที่อาจจะต้องเสียภาษีอากร ให้วางเงินหรือหลัก ประกันอย่างอื่นเป็นที่พอใจอธิบดีเพื่อเป็นประกันค่าภาษี อากรด้วย ”
การนำเข้า
มาตรา 40 บัญญัคิว่า “ก่อนจะนำขอใดๆไปจากอารักขา ศุลกากร ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราช บัญญัตินี้ และตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับ ต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบ ถ้วน หรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้ เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่มีการร้องขอและอธิบดีเห็นว่าของใดมีความจำเป็นที่ จะต้องนำออกนอกอารักขาศุลกากรโดยรีบด่วน อธิบดีมี อำนาจให้นำของนั้นไปจากอารักขาศุลกากรได้โดยยังไม่ ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งก่อน แต่ต้อองปฏิบัติตามอธิบดี กำหนด และในกรณีที่อาจจะต้องเสียภาษีอากร ให้วาง เงินหรือหลัก ประกันอย่างอื่นเป็นที่พอใจอธิบดีเพื่อเป็น ประกันค่าภาษี อากรด้วย ”
การเสียภาษี
- มาตรา 10 บัญญัติว่า “บรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามพระราช บัญญัตินี้และตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราอากร การเสียภาษี อากรให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้
- มาตรา 10 ทวิ บัญญัติว่า “ความรับผิดในอันที่ต้องเสีย ภาษีสำหรับ ของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ
- มาตรา 10 ตรี บัญญัติว่า “ความรับในอันจะต้องเสีย ภาษีสำหรับของที่ส่งออกเกิดในเวลาที่ส่งของออกสำเร็จ
การคำนวณค่าภาษีให้ถือตามสภาพของราคาของ และพิกัด อัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้
ท่านำเข้า-ส่งออก
มาตรา 4 บัญญัติว่า “เพื่อความประสงค์แห่งการนำของเข้า หรือส่งของออก หรือนำของเข้าและส่งของออกและการ ศุลกากร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง
- กำหนดท่า หรือที่ใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นท่าหรือที่ สำหรับการนำเข้าหรือส่งออก หรือนำเข้าและส่งออกซึ่งของ ประเภทใดๆ หรือทุกประเภททางทะเล หรือทางบก หรือให้เป็น ท่าหรือที่สำหรับการส่งออกซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้า หรือของ ที่ทัณฑ์บน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขตามแต่จะเห็นสมควร
- กำหนดสนามบินใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นสนามบิน ศุลกากร โดยมีเงื่อนตามแต่จะเห็นสมควร
- ระบุเขตศุลกากร ณ ท่าใด หรือที่ใด หรือสนามบินใดซึ่งได้ กำหนดไว้ข้างต้น ”
หากท่านต้องการอบรมเรื่องการขนส่งสินค้าผ่านแดนจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก TIFFA และ ITBS ใช้เวลาอบรมเพียง 4 วัน
เครดิต : ประกาศกรมศุลกากร, ctt-transit, goodfreight
เรียบเรียงโดย : โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ