Gold vs Bitcoin = Safe Haven?

ด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid19 ที่ลากยาวมาหลายปี จนถึงปัจจุบัน ล่าสุด กุมภาพันธ์ 2022 ที่เกิดสถานการณ์การสู้รบกันระหว่างประเทศ รัสเซีย – ยูเครน ทำให้หลายๆ ฝ่ายเกิดความวิตกกังวล ถึงการขยายวงกว้างออกไป จนส่งผลกระทบถึงเรา ง่ายๆ คือ เรื่องใกล้ตัวที่สุดคือ เรื่อง ปากท้อง นั่นเอง คือ ข้าวของแพง เงินเดือนไม่ขึ้น โบนัสไม่มี บางกิจการสู้ไม่ไหว ก็ต้องปิดตัวไป การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางข่าวร้าย ช่างน่าสงสารจริงๆ การหาหลุมหลบภัยสำหรับหลายๆ คน จึงเป็นที่ปรารถนาและพยายามรักษาสถานะปัจจุบันไม่ให้ย่ำแย่ไปกว่าเดิม

หลุมหลบภัย (Safe Haven) คือ สินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีความปลอดภัย ซึ่งจริงๆ แล้วมีอยู่หลายผลิตภัณฑ์ด้วยกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก และ ปัจจัยภายในของประเทศนั้นๆ เช่น ทองคำ พันธบัตร สกุลเงิน ฯลฯ แต่ในที่นี้ อยากจะกล่าวถึง ทองคำ vs Bitcoin เป็นหลัก เพราะในปัจจุบันเป็นทรัพย์สินที่เป็นที่นิยมและยอมรับอย่างกว้างขวาง ในบรรดานักลงทุนทั้งหลาย แล้วเราจะเลือกลงทุนใน Gold vs Bitcoin อย่างไหนจะดีกว่ากัน?

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity goods) คือ ประเภทของสินค้าที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากแหล่งไหน ก็จะมีคุณลักษณะและคุณสมบัติแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากแหล่งใด ก็จะมีราคาแตกต่างกันไม่มาก จึงทำให้สามารถประกาศราคาอ้างอิงการซื้อขาย ณ วันเวลา สถานที่ เป็นเกณฑ์ในกำหนดราคาเป็นฐานเดียวกัน ตัวอย่างสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity goods) ที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมัน ข้าว น้ำตาล ฯลฯ

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity goods) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Soft Commodity และ Hard Commodity ซึ่งจะแบ่งตามลักษณะของสินค้าโภคภัณฑ์

  • Hard Commodity คือ สินค้าโภคภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ (Natural Raw Material) ได้แก่ ทองคำ ทองแดง เงิน น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ
  • Soft Commodity คือ สินค้าโภคภัณฑ์ที่จากการผลิตของมนุษย์ (Natural Product) ได้แก่ ยางพารา ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวสาลี รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ที่เป็นวัตถุดิบพื้นฐาน (Base Material) ในการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่น

อรรถประโยชน์ (Utility) สินค้าโภคภัณฑ์ คือ การนำมาเป็น วัตถุดิบ (Raw Material) ในการผลิตเป็นสินค้าต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร รภยนต์ เครื่องประดับ ยา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม ดูๆ แล้วก็เหมือนมันคือปัจจัย 4 ที่ เราใช้กันอยู่ทุกวัน ซึ่งใกล้ตัวเรามากๆ สินค้าเหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องในสายการผลิต เป็นเหตุผลว่าทำไม สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity goods) จึงต้องมีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Future Contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากราคาที่เกิดการผันผวนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สามารถควบคุมและรักษาต้นทุน (Cost) ณ. วันส่งมอบสินค้าในอนาคต ให้ผู้ประกอบการสามารถทำกำไรได้และการเติบโตในภาคอุสาหกรรมอย่างมีเสถียรภาพ

Commodity มีกี่ประเภท?

เราสามารถแบ่งสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity goods) ได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

  • สินค้าเกษตร (Agricultural) เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา
  • สินค้าพลังงาน (Energy) เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ
  • โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) เช่น เหล็ก ทองแดง อลูมิเนียม
  • สินค้าปศุสัตว์ (Livestock) เช่น หมู ไก่ วัว
  • โลหะมีค่า (Precious Metals) เช่น ทองคำ เงิน

ทองคำ (Gold) ถือเป็น Hard Commodity ประเภทโลหะมีค่า (Precious Metals) เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนใช้เป็นหลุมหลบภัยในช่วงที่ตลาดเกิดการผันผวนสูง (Panic) เกิดจากความไม่แน่นอน ไม่แน่ใจในสถานการณ์ เพื่อรักษาระดับมูลค่าการลงทุนไม่ให้สูญหายไป กล่าวง่ายๆ คือ “ทองคำชอบข่าวร้าย” ยิ่งมีข่าวร้ายมากเท่าไหร่ ราคาทองคำจะยิ่งพุ่งสูงขึ้น เพราะมีความต้องการ (Demand) จำนวนมากเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ต้องการของคนทั้งโลกที่ยอมรับในแร่โลหะชนิดนี้

ทองคำ (Gold) มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อใช้จ่ายเมื่อไหร่ได้ตามต้องการ นอกจากจะเอาไว้เป็นหลุมหลบภัยแล้ว สำหรับเราๆ ท่านๆ อาจมีไว้เพื่อ เผื่อเหลือเผื่อขาด หรือเป็นเครื่องประดับ รวมไปถึงสามารถบ่งบอกได้ถึงสถานะทางการเงินของผู้ที่มีทองคำในมือ เพราะการเข้าถึงง่าย ซื้อหาได้ง่ายตลอดเวลา แล้วใครหละที่สามารถซื้อทองคำได้? ครู พ่อค้าขายไก่ปิ้ง พนักงานออฟฟิต พนักงานทำความสะอาด แม่ค้าส้มตำ นักธุรกิจ ยาม ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจนับรวมไปถึง พ่อค้ายาบ้า พ่อค้าอาวุธสงคราม นั่นหมายถึง “ใคร ๆ ก็สามารถมีทองคำได้แค่มีเงินซื้อ เข้าถึงได้ง่ายมาก”

Credit: https://www.sanook.com/money/593967/

การขนถ่ายเคลื่อนย้ายทองคำ (Gold) เป็นสินทรัพย์ที่มีรูปร่างจับต้องได้ (Physical) การส่งมอบทองคำจำนวนมากๆ ต้องมีการวางแผนเรื่องความปลอดภัย เช่น รถนิรภัย โหมดการขนส่งที่รวดเร็วและปลอดภัย (Special Take care) การประกันภัย (Insurance) เหล่านี้เป็นข้อจำกัดของทองคำที่มีความยุ่งยาก และต้องการการจัดการอย่างมีระบบ และตรวจสอบได้

บิตคอยน์ (Bitcoin) คือ หนึ่งในสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่เป็นสกุลเงินแรกในโลก ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน (Blockchain) โดยใช้หลักการทำงานแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) โดยจำนวนบิตคอยน์ (Bitcoin) ถูกสร้างขึ้นมาด้วยจำนวนที่ระบุแน่นอนจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญ

บิตคอยน์ (Bitcoin) มีลักษณะสำคัญเป็น บริการดิจิทัล (Digital service) การซื้อขายแลกเปลี่ยนต้องทำผ่านแพลตฟอร์มบนระบบคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บเหรียญก็ต้องการความปลอดภัยเช่นกัน โดยใช้ Password เป็นรหัสผ่าน เราสามารถจัดเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล (Hardware Wallet)

มูลค่าของ บิตคอยน์ (Bitcoin) เกิดขึ้นได้จากการอ้างอิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน Demand & Supply ซึ่งเป็นหลักการเก่าแก่ของโลก คือความขาดแคลนจะทำให้มูลค่าของบิตคอยน์ (Bitcoin) มีมูลค่าสูงขึ้น เนื่องจาก

Credit: https://www.sanook.com/hitech/1534473/

มีอยู่อย่างจำกัด จำนวนเพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น สังเกตุได้ว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) อาจจะมีวิธีการสร้างมูลค่า (Value) แบบใหม่ แต่ก็ไม่สามารถสร้างทฤษฎีใหม่ (Theory) ที่แตกต่างไปจากเดิม

หากต้องการจัด บิตคอยน์ (Bitcoin) เข้ากับกลุ่ม สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity goods) จะเห็นได้ชัดเจนคือ

  • ทองคำ (Gold) เป็นวัตถุดิบ (Raw Material) มีลักษณะจับต้องได้ (Physical) ใช้เป็นวัตถุดิบจำเป็นในการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ในขั้นปฐมภูมิในห่วงโซ่อุปทาน
  • บิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัล (Platform Digital) จับต้องไม่ได้มีลักษณะเป็นระบบ (Systems) ไม่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นปฐมภูมิได้ แต่สามารถนำมาบัญญัติมูลค่าเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนซื้อขาย เป็นเรื่องมนุษย์ทำข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนถัดไปในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) หากจะจัดลำดับชั้น (Ranking) ระหว่าง ทองคำ (Gold) vs บิตคอยน์ (Bitcoin) จะอยู่กันคนละลำดับชั้น (Zone) ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)

อรรถประโยชน์ (Utility) บิตคอยน์ (Bitcoin) สามารถจัดเป็น Safe Haven ได้หรือไม่? เนื่องจากข้อจำกัดด้านปริมาณที่มีเพียง 21 ล้านเหรียญ มูลค่าที่สูงขึ้นเกิดจากการขาดแคลน (Scarcity) ตัวเหรียญบิตคอยน์ (Bitcoin) ไม่ได้เกิดจากการขาดวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิต ฉนั้นความต้องการเหรียญบิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นความต้องการที่แท้จริง หรือ เป็นความต้องการเทียม (Pseudo Demand) กันแน่? หากมีคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคตและสามารถทำกำไรได้ การเข้าซื้อบิตคอยน์ (Bitcoin) จะมีลักษณะเป็นการเก็งกำไร (Speculation) ทิศทางการขยับขึ้นลงของบิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงิน ซึ่งเป็นตลาดเก่าของการแลกเปลี่ยน เมื่อเกิดความไม่แน่นอน ไม่แน่ใจในสถานการณ์ ราคาของบิตคอยน์ (Bitcoin) จะลดลงอย่างรวดเร็ว นั่นแสดงว่า “บิตคอยน์ (Bitcoin) ไม่ชอบข่าวร้าย” และไม่สามารถรักษามูลค่าไว้ได้ ลุกช้าจ่ายรอบวง เหมือนขณะนี้ที่เกิดการสู้รบระหว่าง รัสเซีย – ยูเครน มูลค่าของ บิตคอยน์ (Bitcoin) ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเป็นไปในทิศทางเดียวกับสถานการณ์

ความเป็นที่นิยมของ ทองคำ (Gold) เป็นตลาดเก่าเป็นที่นิยมและยอมรับของคนทั่วโลก มีปริมาณทองคำจำนวนมาก ตลาดใหญ่การถือครองจำนวนมากมีผลชี้นำทิศทางตลาดได้ การเข้าถึงง่าย แลกเปลี่ยนง่าย แค่มีเงินก็ซื้อได้ ความเป็นที่นิยมของ บิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นตลาดใหม่เป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ Gen-X , Gen-Y , Gen-Z การเข้าถึง บิตคอยน์ (Bitcoin) ต้องมีความรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์ แพลทฟอร์ม (platform) แอปพลีเคชั่น (Application) มีปริมาณจำกัด 21 ล้านเหรียญ สมมุติให้ถือครองได้คนละเหรียญ จะมีคนจำนวน 21 ล้านคน ที่มีเหรียญบิตคอยน์ (Bitcoin) ในกระเป๋า หรือหากต้องการเพิ่มปริมาณจำนวนคนที่ถือครองเพื่อเพิ่มอำนาจในตลาด ก็ต้องลดสัดส่วนปริมาณการถือครองลงเป็นหน่วยย่อย อำนาจในการเปลี่ยนแปลงราคาหรือความนิยมในตลาดอาจเป็นไปได้ยาก อาจต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่น รอบความถี่ในการหมุนเวียน , สภาพคล่องในการแลกเปลี่ยน ฯลฯ

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน (Supply Chain) จากทิศทางการเปรียบเทียบข้างต้น จะพบว่ามีวัตถุประสงค์การเข้าถึงที่ต่างกัน คือ “ทองคำชอบข่าวร้าย” vs “บิตคอยน์ (Bitcoin) ชอบข่าวดี” ในการรักษาสถานะมูลค่าของตัวเองให้คงมูลค่าสูงสุด ใครชอบแบบไหน และมีเหตุผลใดในการเข้าถึงอย่างไร ก็ต้องแล้วแต่ถนัด ประสบการณ์ ความท้าทาย ก็ขอให้โชคดีกันทุกคนนะค๊ะ

ผู้เขียน : อาจารย์ณัฏฐิกา ธนสมบัติสกุล

โดย : โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ (ITBS)