โลจิสติกส์ฮาลาล กับกลุ่มประเทศมุสลิม 57 ประเทศ ซึ่งมีจำนวนประชากรราว 1,800 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 95 ของประชากรมุสลิมทั่วโลก ปัจจุบันประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดอาหารฮาลาลสูง 10 อันดับแรก
.
โลจิสติกส์ฮาลาล หมายถึง กระบวนการวางแผน การปฏิบัติงาน และการควบคุมสินค้าทั้งการจัดการ การเคลื่อนย้ายและ การจัดเก็บสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบที่ฮาลาลจากแหล่งกำเนิดจนถึงผู้บริโภคที่เป็นมุสลิมให้สอด คล้องกับหลักการศาสนาอิสลาม
.
จากการวิจัยทั่วโลกที่จัดทำโดย LBB International เรื่องการรับรู้ของผู้บริโภคสินค้าฮาลาล พบว่า การขนส่งสินค้าฮาลาลมีความสำคัญมากต่อผู้บริโภคและพบว่าผู้บริโภคพร้อมยอมจ่ายเงินที่มากกว่าหากสินค้าฮาลาลผ่านกระบวนการต่างๆ ที่เชื่อถือได้ในแถบเอเชียประเทศมาเลเซียตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าฮาลาลของโลกทั้งนี้ เพราะสินค้ามีมาตรฐานฮาลาล ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ และพร้อมพัฒนาเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าฮาลาลไปทั่วภูมิภาคประเทศไทยและอินโดนีเซียเองต่างเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่สำคัญของอาหารฮาลาล

หลักสำคัญในโลจิสติกส์ฮาลาล คือ ต้องมุ่งเน้นการเคลื่อนย้ายของ สินค้าตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบจนถึงผู้บริโภคสุดท้าย ให้สอดคล้องกับหลักการศาสนาและเป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคมุสลิม โดยมีการตรวจสอบตามมาตรฐานและเครื่องหมายการรับรองฮาลาลเป็นตัวชี้วัด ประสิทธิภาพ
.
หลักพื้นฐานของการขนส่งและคลังสินค้าฮาลาล คือ ควรมีการแยกสินค้าฮาลาลและไม่ฮาลาล ตลอดจนกระบวนการขนส่งและจัดเก็บในคลังสินค้า ได้แก่
- ตรวจสอบสถานะของสินค้าฮาลาล และติดฉลากสินค้าฮาลาลให้ชัดเจน
- ผู้ให้บริการขนส่งและจัดเก็บสินค้าควรแยกสินค้าฮาลาลและไม่ฮาลาลไม่ให้ปะปนกัน
2.1 ในพาเลทเดียวกันจะต้องไม่มีการปะปนระหว่างสินค้าฮาลาลและไม่ฮาลาล
2.2 ในตู้สินค้าเดียวกันหากมีสินค้าฮาลาลและไม่ฮาลาลจะต้องแยกโดยใช้ภาชนะบรรจุ อีกชั้นหนึ่ง (tertiary packaging) เพื่อป้องกันการสัมผัสระหว่างสินค้าทั้ง 2 ประเภทและจะต้องระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์ที่ช่วยเคลื่อนย้ายไม่ให้มีการปน เปื้อนกัน
2.3 ในการขนส่งสินค้าฮาลาลแบบเทกอง (bulk shipment) ต้องระวังไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับสินค้าที่ไม่ฮาลาล - ควรเก็บสินค้าฮาลาลในสถานที่หรือห้องเย็นที่จัดไว้เฉพาะสำหรับสินค้าฮา ลาลเท่านั้นและรักษาสภาวะในการจัดเก็บให้เหมาะสมกับสินค้าแต่ละชนิดด้วย กรณีที่ไม่สามารถแยกพื้นที่จัดเก็บได้จะต้องแยกสินค้าฮาลาลและไม่ฮาลาลด้วย ภาชนะบรรจุอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสัมผัสกันทางกายภาพได้
- การจัดส่งสินค้าฮาลาล ควรใส่ภาชนะหรือกล่องบรรจุสินค้า ที่ระบุว่าใช้กับสินค้าฮาลาลเท่านั้น โดยใช้ป้ายกำกับที่เป็นสีหรือสัญลักษณ์เป็นการบ่งบอก เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานในการตรวจสอบ
- ตู้สินค้าหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าฮาลาลจะต้องถูกต้องตามหลัก สุขลักษณะ และหากมีการนำไปใช้กับสินค้าที่ไม่ฮาลาลมาก่อนจะต้องไดรับการทำความสะอาดให้ ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามก่อนนำมาใช้กับสินค้าฮาลาล
การทำความสะอาดตามหลักการของศาสนาอิสลาม มีวิธีการดังนี้ เริ่มต้นให้เช็ดหรือกำจัดเอานะยิส (สิ่งสกปรกตามหลักศาสนาอิสลาม แบ่งเป็น นะยิสเบา นะยิสปานกลาง และนะยิสหนัก) ออกให้หมดเสียก่อน แล้วทำการล้างตามนะยิสที่พบ เช่นกรณีสัมผัสกับนะยิสหนัก (สุกร หรือสิ่งที่มาจากสุกร) เมื่อกำจัดเอานะยิสออกแล้วจะต้องล้างด้วยน้ำดิน 1 ครั้ง แล้วจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 6 ครั้ง รวมเป็น 7 ครั้ง การล้างทุกครั้งจะต้องใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลผ่าน (ไม่ใช่เป็นการแช่หรือการจุ่ม) ในกรณีของการใช้ตู้สินค้าหรืออุปกรณ์ในการขนส่งหรือจัดเก็บสินค้าฮาลาล หากไม่ทราบประวัติการใช้ตู้สินค้าหรืออุปกรณ์เหล่านั้นมาก่อน จะต้องทำการล้างด้วยวิธีการกำจัดนะยิสหนัก
.
สิ่งสำคัญการขนส่งสินค้าฮาลาลจะต้องมีฉลากบ่งชี้ไปกับตัวสินค้าและใน เอกสารกำกับการขนส่งสินค้าฮาลาลทุกครั้ง ทั้งนี้การขนส่งและการจัดการคลังสินค้าถือว่าเป็นกิจกรรมโลจิสติกส์ที่มี ความสำคัญที่สุดต่อผู้บริโภคมุสลิม
.
แนวคิดของฮาลาลโลจิสติกส์ มี 2 องค์ประกอบ คือ
- ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการออกแบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ถูกต้องตามข้อกำหนดด้านฮาลาล
- ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน(supply chain)ได้ จากมุมมองของฮาลาล เช่นเดียวกับการตรวจสอบอื่นๆ
.
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแม้สินค้าหรืออาหารฮาลาลหรือบริการนั้น จะถูกผลิตออกมาถูกต้องตามหลักของศาสนาอิสลาม แต่ในขั้นตอนการขนส่งสินค้า การเก็บของในคลังสินค้า หรือกระบวนการจำหน่าย สินค้าที่เป็นฮาลาลนั้นอาจมีการปนเปื้อนสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม (หะรอม) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโถคให้สามารถอุปโภคหรือบริโภคสินค้า อาหาร หรือบริการ ที่เป็นฮาลาล ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงสินค้า อาหาร หรือบริการ จนถึงมือผู้บริโภค ประเทศไทยจึงต้องมีมาตรฐานฮาลาลโลจิสติกส์ด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อให้สินค้า อาหาร หรือบริการนั้นถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ตั้งแต่ต้นทางการผลิตจนสินค้า อาหาร หรือบริการนั้นจนถึงมือผู้บริโภค และต้องมีการบัญญัติหรือ
แก้ไขกฎหมายที่จะเอาผิดต่อผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับฮาลาลโดยการตรากฎหมายเฉพาะ อันจะเป็นการสร้างความมั่นให้แก่ผู้บริโภคที่จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหาย เมื่อมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับฮาลาลนั้น
.
สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และโรงเรียนธุรกิจขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ หรือ ITBS เปิดตัวหลักสูตรระยะสั้น “การจัดการโลจิสติกส์ฮาลาล” หรือ Halal Logistics Management ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ฮาลาลทั้งระบบแบบมืออาชีพ ** หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง **
เครดิต : hethesisarchive.library.tu.ac.th, prosoftgps.com, food information center
เรียบเรียงโดย : โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ